เมนูหลัก
ประชาสัมพันธ์การทำงาน
กศน.กับการศึกษาคนต่างด้าว/ไร้สัญชาติ
กศน.ตำบลทรายแดง อบรมกฎหมาย กสทช.
วันปิยมหาราช
ประชุมรับนโยบายและอบรมงานประกันคุณภาพ
ปฐมนิเทศนักศึกษาเทียบระดับ กศน.อำเภอเมืองระนอง
รณรงค์เลือกตั้ง ส.อบจ.ระนอง
อบรมและสร้าง การจัดการเว็ปไซด์ด้วย jumla
ลูกเสือไซเบอร์
ประเภณีลอยกระทง
ปลูกป่าชายเลนถวายพ่อหลวงของปวงไทย
ประเพณีแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธงบ้านบางริ้น
น่าสนใจ ไปดูกัน
กศน.ตำบลราชกรูด
กศน.ตำบลหงาว
กศน.เทศบาลตำบลหงาว
กศน.ตำบลบางริ้น
กศน.เทศบาลตำบลเขานิเวศน์
กศน.ตำบลปากน้ำท่าเรือ
กศน.ตำบลบางนอน
กศน.ตำบลเกาะพยาม
กศน.ตำบลหาดส้มแป้น
ลูกเสือไซเบอร์
ภาษาอังกฤษออนไลซ์
จับตาดูอาเซียน
เศรษฐกิจพอเพียง
ETV
Download หนังสือเรียน
Login Form
กพช.คือ อะไร
- รายละเอียด
- ฮิต: 37692
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดสาระการเรียนรู้เป็น 5 กลุ่มสาระ ได้แก่ สาระทักษะการเรียนรู้ สาระความรู้พื้นฐาน สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต สาระการพัฒนาสังคม และกำหนดให้ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร โดยเน้นให้ผู้เรียนนำข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ มาฝึกทักษะการคิด การวางแผนปฏิบัติการ ที่จะส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาตนเอง ครับครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
หลักการ
1. สถานศึกษาจัดให้มีการลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนแรก เพื่อทำความเข้าใจ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถเขียนโครงการและดำเนินการตามโครงการได้
2. สถานศึกษาให้ผู้เรียนเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครู และทำกิจกรรมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง โดยให้ผู้เรียนเสนอโครงการได้ตลอดเวลาในทุกภาคเรียน เมื่อมีการวางแผน ประสานงาน และมีความพร้อมจะจัดทำโครงการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแนวทาง ขั้นตอนที่สถานศึกษากำหนด
3. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่มีเจตนารมณ์ให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองอยู่ตลอดเวลา อย่างหลากหลายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของตนตลอดเวลา จึงต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้มีการเทียบโอน
4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความพร้อม ความถนัดหรือตามความสนใจ
5. การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จะปฏิบัติเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคลก็ได้
6. การประเมินค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประเมินจากการทำกิจกรรมที่ผู้เรียนเสนอโครงการไว้ในแต่ละภาคเรียน โดยเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วม
7. กิจกรรมที่ได้รับการประเมินค่าแล้ว หากผู้เรียนประสงค์จะทำกิจกรรมในลักษณะเดิมอีก ต้องเสนอโครงการใหม่ที่ชี้ให้เห็นพัฒนาการของกิจกรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา และความมีเหตุผล
2. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ครอบครัว ชุมชน และสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม
องค์ประกอบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบด้วย
1. ต้องมีความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับ
- โครงสร้างและประโยชน์ของ กพช.
- แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
- กระบวนการกลุ่ม
- กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
- การประสานเครือข่าย
- การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
- การวางแผน และประโยชน์ของการวางแผน
- มนุษยสัมพันธ์
- การเขียนโครงการ
2. กิจกรรมโครงการ
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม
ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
ลักษณะการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น
- ด้านสุขภาพกาย/จิต เช่น โครงการ กศน.ไร้พุง
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น โครงการสมัคคีสร้างสุข โครงการคุณธรรมนำชีวิต โครงการ 1 ตำบล 1 วัด
- ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงการรู้รับ รู้จ่าย รู้ได้ รู้เก็บ
- ด้านการพัฒนาตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาบุคลิกภาพ
- ด้านยาเสพติด เช่น โครงการครอบครัวอบอุ่น
- ด้านเพศศึกษา เช่น โครงการพ่อแม่รู้ใจ วัยรุ่นรู้ทัน
- ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น โครงการเตรียมตัวเตรียมใจรับภัยธรรมชาติ
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
1) ประโยชน์ที่ตนเอง/ครอบครัวได้รับ เป็นกิจกรรมที่สามารถสร้าง /พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตได้ ตนเอง/ครอบครัวอยู่ได้อย่างมีความสุข
2) การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผู้เรียนและครอบครัวเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ
3) การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน มีการประสานงาน ความรับผิดชอบ เสียสละและจิตบริการ
4) ความเหมาะสมในการใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ
5) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ได้แก่ ความรู้ แหล่งข้อมูล วัสดุ งบประมาณ และการเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ประหยัด
6) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง/ครอบครัว
ตัวอย่างกิจกรรม กพช. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น โครงการอาสาสมัคร ลูกเสือ ยุวกาชาด/ชมรมอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน
- ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการลดโลกร้อนด้วยมือเรา โครงการหน้าบ้านน่ามอง โครงการอนุรักษ์ป่า ไม้แม่น้ำลำคลอง
- ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี เช่น โครงการอนุรักษ์ รักวัฒนธรรม
- ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ เช่น โครงการคลังสมองร่วมพัฒนาชุมชน
- ด้านประชาธิปไตย เช่น โครงการเรียนรู้ประชาธิปไตยใส่ใจรักษาสิทธิ
- ด้านการสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น โครงการบรรณารักษ์อาสา
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
1) ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือเป็นบริการที่ช่วยส่งเสริม หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและอื่น ๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ
2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การช่วยกันคิดการประสานงานและแบ่งความรับผิดชอบ ทำให้เกิดความสามัคคี เสียสละ จิตบริการตามวิถีประชาธิปไตย
4) การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการที่นำเสนอ
5) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรม เช่น บุคลากร วัสดุ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
6) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดการพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
กระบวนการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
1. ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. ครูให้ความรู้พื้นฐาน และให้แนวทางการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. ผู้เรียนยื่นคำร้องขอทำกิจกรรม และเสนอโครงการตามแบบที่กำหนด
4. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินโครงการ
6. ผู้เรียนดำเนินการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติพร้อมบันทึกการปฏิบัติงานเป็น รายบุคคลโดยอยู่ในการกำกับดูแลของครูที่ปรึกษาโครงการ
7. คณะกรรมการประเมินโครงการ นิเทศติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล
8. ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งสถานศึกษาเมื่อสิ้นสุดโครงการ
9. คณะกรรมการประเมินค่าผลสำเร็จของโครงการเป็นจำนวนชั่วโมงกิจกรรม
10. สถานศึกษา และผู้เรียนบันทึกผลจำนวนชั่วโมงที่ทำกิจกรรม กพช.ไว้เป็นหลักฐาน
บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน
1. ลงทะเบียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. ศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจและประเมินตนเองในด้านความรู้พื้นฐาน
3. ร่วมประชุมวางแผนการทำกิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต
4. ยื่นคำร้องและเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว
6. จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการต่อครูที่ปรึกษาตามแผนและระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด โดยผู้เรียนต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการดังตัวอย่างเอกสารในภาคผนวก
ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
1. ผู้เรียนที่ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. แนบโครงการที่เขียนแล้ว พร้อมทั้งแบบคำร้อง แสดงความจำนงขอทำกิจกรรมพัฒนา คุณภาพชีวิตเพื่อขออนุมัติโครงการต่อสถานศึกษา โครงการประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1. ชื่อโครงการ
2.2. หลักการและเหตุผล
- บอกเหตุผลและความจำเป็นหรือความสำคัญของโครงการ
2.3. วัตถุประสงค์
- ระบุว่าโครงการนี้ทำเพื่ออะไร เกิดประโยชน์อย่างไร
2.4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
- บอกวิธีการทำงานว่าขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่เริ่มทำโครงการจนสิ้นสุดโครงการ
2.5. สถานที่ดำเนินงาน
- ระบุสถานที่ที่จะดำเนินการ
2.6. ระยะเวลา
- ระบุว่า โครงการที่จะปฏิบัตินั้นเริ่มและสิ้นสุดวันใด
2.7. งบประมาณ
- ตั้งงบประมาณหรือองค์ประกอบที่จะทำให้โครงการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เช่น วัสดุ แรงงาน
2.8. ผู้รับผิดของโครงการ
- ระบุผู้รับผิดชอบโครงการว่ามีใครบ้าง กี่คน
2.9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ระบุว่าจากการทำโครงการนั้น คาดว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
3. เมื่อสถานศึกษาอนุมัติโครงการแล้ว ให้ผู้เรียนนำโครงการดังกล่าวมาดำเนินงานโดยอยู่ในการกำกับดูแลของครู และคณะกรรมการ
4. เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้จัดทำรายงานการดำเนินงานต่อสถานศึกษา เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา และประเมินผลสำเร็จของโครงการ
การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.) ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้วนั้น ให้พิจาณาตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
การประเมินผล
การประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การประเมินตนเอง เป็นการประเมินผลการเรียนรู้และการเข้าร่วม/ทำกิจกรรมตามแบบที่กำหนด (ตัวอย่างแบบประเมินตนเองในภาคผนวก) หรือให้ความรู้นั้นๆ เพิ่มเติมจนผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ
2. การประเมินผลโครงการ ให้คณะกรรมการประเมินกิจกรรมเป็นผู้พิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติตามแบบประเมินที่กำหนด
3. เกณฑ์การพิจารณาการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือว่าผ่าน
เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
1. ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และปฏิบัติโครงการรวมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
2. โครงการต้องบรรลุวัตถุประสงค์โดยชิ้นงาน ร่องรอยและ/หรือเอกสารรายงานมาแสดง
สื่อการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้รับสื่อเอกสารประกอบการเรียนที่สถานศึกษาจัดให้ยืมเรียน นอกจากนั้นผู้เรียนยังต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชน และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ผู้เรียน ครู สามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนำสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ใกล้ตัวและข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้สื่อต่างๆ ที่มีอยู่ใกล้ตัว และข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารญาณในการเลือกใช้สื่อต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า น่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เข้าใจง่าย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จัดวิธีการแสวงหาความรู้เกิดการเรียนรู้ อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง และต่อเนื่องตลอดเวลา