เมนูหลัก
ประชาสัมพันธ์การทำงาน
กศน.กับการศึกษาคนต่างด้าว/ไร้สัญชาติ
กศน.ตำบลทรายแดง อบรมกฎหมาย กสทช.
วันปิยมหาราช
ประชุมรับนโยบายและอบรมงานประกันคุณภาพ
ปฐมนิเทศนักศึกษาเทียบระดับ กศน.อำเภอเมืองระนอง
รณรงค์เลือกตั้ง ส.อบจ.ระนอง
อบรมและสร้าง การจัดการเว็ปไซด์ด้วย jumla
ลูกเสือไซเบอร์
ประเภณีลอยกระทง
ปลูกป่าชายเลนถวายพ่อหลวงของปวงไทย
ประเพณีแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธงบ้านบางริ้น
น่าสนใจ ไปดูกัน
กศน.ตำบลราชกรูด
กศน.ตำบลหงาว
กศน.เทศบาลตำบลหงาว
กศน.ตำบลบางริ้น
กศน.เทศบาลตำบลเขานิเวศน์
กศน.ตำบลปากน้ำท่าเรือ
กศน.ตำบลบางนอน
กศน.ตำบลเกาะพยาม
กศน.ตำบลหาดส้มแป้น
ลูกเสือไซเบอร์
ภาษาอังกฤษออนไลซ์
จับตาดูอาเซียน
เศรษฐกิจพอเพียง
ETV
Download หนังสือเรียน
Login Form
หลักฐานการเรียนรู้
- รายละเอียด
- ฮิต: 11009
หลักฐานการเรียนรู้
หมายถึง การกำหนดชิ้นงาน ภาระงาน หรือลักษณะของชิ้นงาน ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละ เรื่อง หรือแต่ละขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถนำไปสู่การประเมิน เพื่อปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ และสามารถทำได้ตามที่มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการยืนยัน สร้างความมั่นใจให้กับครูว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ จริง หลักฐานการเรียนรู้ที่เป็นการแสดงผลการเรียนรู้ 1 อย่าง อาจจะตอบได้หลายเป้าหมายของการเรียนรู้ก็ได้ เนื่องจากเป็นหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจน
การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนนั้น ต้องเป็นหลักฐานที่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วยวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย และมีความต่อเนื่องจนจบสิ้นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากครูกำหนดให้ หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกันกำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้นั้น เช่น บันทึกการฝึกทักษะ บันทึกการเรียนรู้ รายงาน แบบฝึกหัด โครงงาน แฟ้มสะสมงาน ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
1. บันทึกการฝึกทักษะ หมายถึง ข้อความที่ผู้เรียนจดหรือบันทึกเกี่ยวกับทักษะ ภาระงานที่ได้รับการฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนที่เกี่ยวกับการฝึกทักษะในเรื่อง ดังกล่าว
2. บันทึกการเรียนรู้ หมายถึง บันทึกที่ผู้เรียนจัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ทั้งในส่วนขององค์ความรู้และการ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
บันทึกการเรียนรู้ อาจมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. ปกหน้า
2. ปกใน
3. รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
ประกอบด้วย
3.1 ชื่อ-นามสกุล
3.2 รหัสประจำตัวนักศึกษา
3.3 ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
3.4 ศรช.ที่นักศึกษาสังกัด
3.5 สถานศึกษาที่นักศึกษาสังกัด
4. ส่วนบันทึกการเรียนรู้ ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
4.1 สาระการเรียนรู้ และรายวิชาที่ศึกษา
4.2 หัวข้อที่ศึกษา หรือที่ครูมอบหมายให้ศึกษา
4.3 จุดประสงค์ที่ศึกษาในหัวข้อนั้น เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการตั้งจุดมุ่งหมายใน
การเรียนรู้ อันจะเป็นกรอบ หรือแนวทางการศึกษาในหัวข้อที่สนใจ และสามารถประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยตนเอง โดยเทียบกับจุดประสงค์ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนตั้งไว้
4.4 ขั้นตอนการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบ และเพื่อฝึกการวางแผนการทำงาน การกำกับควบคุมตนเองและเวลาการทำงานให้สัมพันธ์กัน เพื่อให้งานสำเร็จตามจุดประสงค์ และระยะเวลาที่วางไว้ ซึ่งในขั้นตอนการศึกษา ผู้เรียนจะต้องระบุรายละเอียดดังนี้
4.4.1 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล ระบุว่ามีวิธีรวบรวม ข้อมูลอย่างไร เช่น ค้นหาเอกสารจากที่ใด หรือสอบถามผู้ใด จดบันทึกข้อมูลที่หาอย่างไร
4.4.2 ขั้นจัดการข้อมูล ระบุว่าข้อมูลที่ได้ ผู้เรียนมีการจัดแบ่งเนื้อหาเป็น หัวข้ออย่างไร นำข้อมูลมาใช้อย่างไร
4.5 สรุปเนื้อหาที่เรียนรู้แบบย่อ โดยสรุปเนื้อหาสาระความรู้ที่สำคัญ ทั้งนี้ตามหัวข้อที่ผู้เรียนจัดทำไว้
4.6 ผลการเรียนรู้ ให้บอกถึงผลของการศึกษาค้นคว้าที่เกิดกับตัวผู้เรียน ในส่วนของความรู้และการพัฒนาตนเอง
4.7 การนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ หรือในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้เรียนจะต้องระบุให้ชัดเจน หากเนื้อหาในเรื่องที่ศึกษาไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ หรือในชีวิตประจำวันได้ ก็ให้ระบุเหตุผลให้ชัดเจน
4.8 ความคิดเห็นของครูประจำวิชา เป็นความคิดเห็นของครูต่องานที่ผู้เรียนจัดทำ ครูต้องแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์ต่องานของผู้เรียน ครูต้องมีเหตุผลประกอบเพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากข้อคิดเห็นของครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนรู้ถึงคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า ครูจึงไม่ควรละเลยส่วนนี้ไป เพราะส่งผลต่อกำลังใจในการศึกษาเรียนรู้ของผู้เรียน
3. การรายงาน หมายถึง การศึกษาค้นคว้า หาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หรือจากการทดลองการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ ของผู้เรียน ที่นำสารสนเทศดังกล่าวมาประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้ถูกต้องและเรียบเรียงอย่างมีแบบแผนที่กำหนด อาจศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือเป็นเรื่องที่ครูกำหนดให้ศึกษาค้นคว้า รายงานเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาในปัจจุบัน และถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษา การทำรายงานอาจทำเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มก็ได้ ความยาวของรายงานขึ้นอยู่กับขอบเขตของหัวข้อรายงาน และระยะเวลาในการทำรายงา
ตัวอย่างขั้นตอนการทำรายงาน
3.1. หัวข้อเรื่อง อาจจะกำหนดโดยครู หรือผู้เรียนเลือกเอง หากเลือกเองควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ มีขอบเขตเนื้อหาไม่กว้างหรือแคบเกิน และคาดว่าจะมีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอ จะช่วยให้การทำรายงานสนุกและได้ความรู้เพิ่มขึ้น ส่วนการตั้งชื่อเรื่อง ควรตั้งให้กะทัดรัด ครอบคลุมเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของรายงานที่ทำ
3.2. ค้นคว้าข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ซีดีที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ จะได้ความละเอียด แม่นยำ หลากหลายและทันสมัย
3.3. เรียบเรียงข้อมูล โดยวางโครงเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับ แบ่งเนื้อหาเป็นบท จากหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ตามด้วยหัวข้อย่อยที่มีความสำคัญรองลงมา จากนั้นจึงเขียนอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ
3.4. การทำเอกสารอ้างอิง อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้า เพื่อความสมบูรณ์และน่าเชื่อถือของเนื้อหารายงาน
นอกจากทำรายงานแล้ว การนำเสนอหน้าชั้นก็มีความสำคัญ ต้องศึกษาเนื้อหาให้เข้าใจอาจจดหัวข้อสำคัญไว้ดูเผื่อลืม รวมทั้งฝึกซ้อมพูดก่อนนำเสนอจริง เพื่อความพร้อมและความสมบูรณ์ของงาน
4. การทำแบบฝึกหัด หมายถึง สื่อการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะ ความรู้และความเข้าใจในบทเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนนั้น
5. โครงงาน หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจของผู้เรียน ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลาย ๆ สิ่งที่สงสัยและต้องการรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง ชัดเจน หรือต้องการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ความรู้หลาย ๆ ด้าน และทักษะกระบวนการที่ต่อเนื่อง มีการวางแผนในการศึกษา และรับผิดชอบปฏิบัติตามแผน จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษา หรือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างเป็นระบบ เรื่องที่จะทำโครงงานควรเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจและสอดคล้องตามสาระการเรียนรู้ตามรายวิชานั้น
ขั้นตอนการทำโครงงานของผู้เรียน
1. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงานและผู้เรียนทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน
2. ผู้เรียนและครูร่วมกันศึกษาหลักสูตร และวิเคราะห์สาระของรายวิชา
3. ผู้เรียนเลือกหัวข้อในการทำโครงงานตามความสนใจ
4. ผู้เรียนและครูร่วมกันจัดทำแผนการทำโครงงาน
5. ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้า เอกสารและแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
6. ผู้เรียนเขียนโครงร่างการทำโครงงานเพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อครู โดยครูต้องวิเคราะห์โครงร่างให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระรายวิชา หากไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระรายวิชาดังกล่าว ครูต้องสอนเสริมและให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
7. ผู้เรียนจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการการทำโครงงาน (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร)
8. ผู้เรียนปฏิบัติตามแผน โดยมีการจดบันทึกผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและนำเสนอความก้าวหน้า ผู้เรียนและครูร่วมกันประเมินผลการทำโครงงานเป็นระยะ ตามแผนปฏิบัติการ
9. ผู้เรียนเขียนรายงานสรุปผลการทำโครงงาน
10. ผู้เรียนนำเสนอผลการทำโครงงานต่อสาธารณะ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นิทรรศการและสื่ออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
11. ผู้เรียนและครูร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้แบบโครงงาน
เกณฑ์การประเมินโครงงาน พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้
1. ความสามารถในการทำโครงงาน
- การเลือกหัวข้อเรื่องในการทำโครงงาน
- ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- โครงงานที่ทำเป็นงานใหม่ หรือศึกษาเพิ่มเติมจากของเดิม
2. ความสามารถในการดำเนินการทำโครงงาน
- ด้านเนื้อหาของโครงงาน
ถูกต้องตามหลักการความเป็นจริง
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เลือกใช้แหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้
สรุปความรู้ชัดเจนตรงตามจุดประสงค์
- ด้านทักษะกระบวนการ
มีทักษะกระบวนการคิดในการแก้ปัญหา
ศึกษาปัญหา ทำความเข้าใจกับปัญหา
วางแผนอย่างเป็นระบบ
ดำเนินการตามแผนครบทุกขั้นตอน
ประเมินและปรับปรุงการดำเนินการได้เหมาะสม
มีทักษะกระบวนการคิดและการสื่อสาร
มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้
มีการเขียนรายงานผลการทำโครงงานถูกต้องและสื่อความหมายได้ชัดเจน
3. ความสามารถในการนำเสนอโครงงาน
แนวคิดและวิธีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ
ข้อสรุปของโครงงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ข้อมูลสมบูรณ์และชัดเจน
รูปแบบนำเสนอเหมาะสม
4. ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชา
บรรลุตัวชี้วัดของรายวิชา
ตัวอย่างหัวข้อการเขียนโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. หลักการและเหตุผล
3. วัตถุประสงค์
4. เป้าหมาย
5. ขอบเขตของการศึกษา
6. วิธีดำเนินงานและรายละเอียดของแผน
7. ระยะเวลาดำเนินงาน
8. งบประมาณ
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10. ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน
11. ชื่อครูที่ปรึกษา
6. แฟ้มสะสมงาน หมายถึง สิ่งที่เก็บรวบรวมตัวอย่าง หรือ หลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม ความถนัดของบุคคลหรือ ประเด็นที่ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานไว้อย่างเป็นระบบในการจัดทำแฟ้มสะสมงานมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่า ผลการเรียนรู้หรืองานที่ทำเป็นอย่างไร ประสบผลสำเร็จในระดับใด มีระบบหรือไม่ ควรจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร
2. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ประเมินเจ้าของแฟ้มว่า มีความสามารถในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จในระดับใด ควรจะได้รับการช่วยเหลือหรือพัฒนาหรือไม่อย่างไร
องค์ประกอบสำคัญของแฟ้มสะสมผลงาน มีดังนี้
1. ส่วนนำ ประกอบด้วย ปก ข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียน ข้อมูลผลการเรียน สารบัญ
2. ส่วนเนื้อหาของแฟ้มสะสมงาน เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของผลงานและความคิดเห็นของตนเองต่อผลงานที่ได้เลือก อาจจัดจำแนกตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือลักษณะธรรมชาติของงานก็ได้
3. เกณฑ์การตัดสินผลงาน ผลการประเมินครู ของตนเอง และของเพื่อนรวมทั้งภาคผนวก(ถ้ามี)
7. การสอบ หมายถึง การประเมินหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้า ทั้งด้านความรู้
ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ อันเป็นผลเนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน