น่าสนใจ ไปดูกัน

กศน.ตำบลราชกรูด
กศน.ตำบลหงาว
กศน.เทศบาลตำบลหงาว
กศน.ตำบลบางริ้น
กศน.เทศบาลตำบลเขานิเวศน์
กศน.ตำบลปากน้ำท่าเรือ
กศน.ตำบลบางนอน
กศน.ตำบลเกาะพยาม
กศน.ตำบลหาดส้มแป้น
ลูกเสือไซเบอร์
ภาษาอังกฤษออนไลซ์
จับตาดูอาเซียน
เศรษฐกิจพอเพียง

ETV 
Download หนังสือเรียน

Login Form

Home

กพช.คือ อะไร

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

        กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดสาระการเรียนรู้เป็น 5 กลุ่มสาระ ได้แก่ สาระทักษะการเรียนรู้ สาระความรู้พื้นฐาน สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต สาระการพัฒนาสังคม และกำหนดให้ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร โดยเน้นให้ผู้เรียนนำข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ มาฝึกทักษะการคิด การวางแผนปฏิบัติการ ที่จะส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาตนเอง   ครับครัว  ชุมชน  และสังคม  เพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

หลักการ
        1. สถานศึกษาจัดให้มีการลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนแรก เพื่อทำความเข้าใจ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถเขียนโครงการและดำเนินการตามโครงการได้
        2. สถานศึกษาให้ผู้เรียนเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต และวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครู และทำกิจกรรมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง โดยให้ผู้เรียนเสนอโครงการได้ตลอดเวลาในทุกภาคเรียน เมื่อมีการวางแผน ประสานงาน และมีความพร้อมจะจัดทำโครงการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแนวทาง ขั้นตอนที่สถานศึกษากำหนด
        3. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่มีเจตนารมณ์ให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองอยู่ตลอดเวลา อย่างหลากหลายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของตนตลอดเวลา จึงต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้มีการเทียบโอน
        4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความพร้อม ความถนัดหรือตามความสนใจ
        5. การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จะปฏิบัติเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคลก็ได้
        6. การประเมินค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประเมินจากการทำกิจกรรมที่ผู้เรียนเสนอโครงการไว้ในแต่ละภาคเรียน โดยเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วม
        7. กิจกรรมที่ได้รับการประเมินค่าแล้ว หากผู้เรียนประสงค์จะทำกิจกรรมในลักษณะเดิมอีก ต้องเสนอโครงการใหม่ที่ชี้ให้เห็นพัฒนาการของกิจกรรม

วัตถุประสงค์
        1. เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา และความมีเหตุผล
        2. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
        3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนา   ครอบครัว  ชุมชน และสังคม  ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม

องค์ประกอบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

        กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบด้วย
         1. ต้องมีความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับ
            - โครงสร้างและประโยชน์ของ กพช.
            - แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
            - กระบวนการกลุ่ม
            - กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
            - การประสานเครือข่าย
            - การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
            - การวางแผน และประโยชน์ของการวางแผน
            - มนุษยสัมพันธ์
            - การเขียนโครงการ
         2. กิจกรรมโครงการ
            เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
         ลักษณะการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
            1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้   เช่น
                - ด้านสุขภาพกาย/จิต เช่น  โครงการ กศน.ไร้พุง
                - ด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น  โครงการสมัคคีสร้างสุข โครงการคุณธรรมนำชีวิต โครงการ 1 ตำบล 1 วัด
                - ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น  โครงการรู้รับ  รู้จ่าย  รู้ได้  รู้เก็บ
                - ด้านการพัฒนาตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น  โครงการพัฒนาบุคลิกภาพ
                - ด้านยาเสพติด เช่น  โครงการครอบครัวอบอุ่น
                - ด้านเพศศึกษา เช่น  โครงการพ่อแม่รู้ใจ  วัยรุ่นรู้ทัน
                - ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น  โครงการเตรียมตัวเตรียมใจรับภัยธรรมชาติ

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
         1)  ประโยชน์ที่ตนเอง/ครอบครัวได้รับ เป็นกิจกรรมที่สามารถสร้าง /พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตได้ ตนเอง/ครอบครัวอยู่ได้อย่างมีความสุข
         2)  การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผู้เรียนและครอบครัวเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ
         3)  การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน มีการประสานงาน   ความรับผิดชอบ เสียสละและจิตบริการ
         4)  ความเหมาะสมในการใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ
         5)  ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ได้แก่  ความรู้ แหล่งข้อมูล  วัสดุ  งบประมาณ  และการเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม  ประหยัด
         6)  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง/ครอบครัว

     ตัวอย่างกิจกรรม กพช. ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
         -  ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น โครงการอาสาสมัคร ลูกเสือ ยุวกาชาด/ชมรมอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน
         -  ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการลดโลกร้อนด้วยมือเรา โครงการหน้าบ้านน่ามอง โครงการอนุรักษ์ป่า ไม้แม่น้ำลำคลอง
         -  ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี เช่น  โครงการอนุรักษ์  รักวัฒนธรรม
         -  ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ เช่น  โครงการคลังสมองร่วมพัฒนาชุมชน
         -  ด้านประชาธิปไตย เช่น โครงการเรียนรู้ประชาธิปไตยใส่ใจรักษาสิทธิ
         -  ด้านการสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   เช่น  โครงการบรรณารักษ์อาสา

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา

         1)  ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือเป็นบริการที่ช่วยส่งเสริม หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและอื่น ๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ
         2)  การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
         3)  การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การช่วยกันคิดการประสานงานและแบ่งความรับผิดชอบ ทำให้เกิดความสามัคคี เสียสละ จิตบริการตามวิถีประชาธิปไตย
         4)  การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการที่นำเสนอ
         5)  ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรม เช่น บุคลากร วัสดุ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
         6)  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดการพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน

กระบวนการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

         1.  ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         2.  ครูให้ความรู้พื้นฐาน และให้แนวทางการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         3.  ผู้เรียนยื่นคำร้องขอทำกิจกรรม และเสนอโครงการตามแบบที่กำหนด
         4.  ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         5.  สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินโครงการ
         6.  ผู้เรียนดำเนินการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติพร้อมบันทึกการปฏิบัติงานเป็น รายบุคคลโดยอยู่ในการกำกับดูแลของครูที่ปรึกษาโครงการ
         7.  คณะกรรมการประเมินโครงการ นิเทศติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล
         8.  ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งสถานศึกษาเมื่อสิ้นสุดโครงการ
         9.  คณะกรรมการประเมินค่าผลสำเร็จของโครงการเป็นจำนวนชั่วโมงกิจกรรม
       10.  สถานศึกษา และผู้เรียนบันทึกผลจำนวนชั่วโมงที่ทำกิจกรรม กพช.ไว้เป็นหลักฐาน

บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน
         1.  ลงทะเบียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         2.  ศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจและประเมินตนเองในด้านความรู้พื้นฐาน
         3.  ร่วมประชุมวางแผนการทำกิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต
         4.  ยื่นคำร้องและเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         5.  ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว
         6.  จัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการต่อครูที่ปรึกษาตามแผนและระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด โดยผู้เรียนต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการดังตัวอย่างเอกสารในภาคผนวก

ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         1. ผู้เรียนที่ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
         2. แนบโครงการที่เขียนแล้ว พร้อมทั้งแบบคำร้อง แสดงความจำนงขอทำกิจกรรมพัฒนา คุณภาพชีวิตเพื่อขออนุมัติโครงการต่อสถานศึกษา โครงการประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
             2.1. ชื่อโครงการ
             2.2. หลักการและเหตุผล
                   - บอกเหตุผลและความจำเป็นหรือความสำคัญของโครงการ
             2.3. วัตถุประสงค์
                   - ระบุว่าโครงการนี้ทำเพื่ออะไร เกิดประโยชน์อย่างไร
             2.4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
                   - บอกวิธีการทำงานว่าขั้นตอนอย่างไร ตั้งแต่เริ่มทำโครงการจนสิ้นสุดโครงการ
             2.5. สถานที่ดำเนินงาน
                   - ระบุสถานที่ที่จะดำเนินการ
             2.6. ระยะเวลา
                   - ระบุว่า โครงการที่จะปฏิบัตินั้นเริ่มและสิ้นสุดวันใด
             2.7. งบประมาณ
                   - ตั้งงบประมาณหรือองค์ประกอบที่จะทำให้โครงการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เช่น วัสดุ แรงงาน
             2.8. ผู้รับผิดของโครงการ
                   - ระบุผู้รับผิดชอบโครงการว่ามีใครบ้าง กี่คน
             2.9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                   - ระบุว่าจากการทำโครงการนั้น คาดว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
         3. เมื่อสถานศึกษาอนุมัติโครงการแล้ว ให้ผู้เรียนนำโครงการดังกล่าวมาดำเนินงานโดยอยู่ในการกำกับดูแลของครู และคณะกรรมการ
         4. เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้จัดทำรายงานการดำเนินงานต่อสถานศึกษา เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา และประเมินผลสำเร็จของโครงการ

การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
       การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.) ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้วนั้น ให้พิจาณาตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด

การประเมินผล
       การประเมินผลการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
       1.  การประเมินตนเอง เป็นการประเมินผลการเรียนรู้และการเข้าร่วม/ทำกิจกรรมตามแบบที่กำหนด (ตัวอย่างแบบประเมินตนเองในภาคผนวก) หรือให้ความรู้นั้นๆ  เพิ่มเติมจนผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ
       2.  การประเมินผลโครงการ ให้คณะกรรมการประเมินกิจกรรมเป็นผู้พิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติตามแบบประเมินที่กำหนด
       3.  เกณฑ์การพิจารณาการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึงจะถือว่าผ่าน

เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
       1.  ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และปฏิบัติโครงการรวมไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
       2.  โครงการต้องบรรลุวัตถุประสงค์โดยชิ้นงาน ร่องรอยและ/หรือเอกสารรายงานมาแสดง


สื่อการเรียนรู้
       ในการจัดการเรียนรู้   ผู้เรียนจะได้รับสื่อเอกสารประกอบการเรียนที่สถานศึกษาจัดให้ยืมเรียน นอกจากนั้นผู้เรียนยังต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย   ได้แก่  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชน และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ผู้เรียน  ครู  สามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง  หรือนำสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ใกล้ตัวและข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้สื่อต่างๆ  ที่มีอยู่ใกล้ตัว และข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารญาณในการเลือกใช้สื่อต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า   น่าสนใจ  ชวนคิด  ชวนติดตาม  เข้าใจง่าย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จัดวิธีการแสวงหาความรู้เกิดการเรียนรู้ อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง และต่อเนื่องตลอดเวลา

ผู้บริหาร

 123

นางสาววาสนา  พรหมบางญวน
ผู้อำนวยการสถานศึกษา

83500104 3463333380374645 3109146432100106240 n

 นางประพิน อินทวัฒกุล

ครูชำนาญการพิเศษ

ff

นางสาวปัทมาวดี  บางนา
ครู กศน.ตำบลทรายแดง