ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป
๑. สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง)
ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ตั้ง ตำบลละอุ่นเหนือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอละอุ่น ห่างจากอำเภอละอุ่น ประมาณ ๖ กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จ.ระนอง
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลละอุ่นเหนือ อำเภอละอุ่น จ.ระนอง
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเขาค่ายอำเภอสวี, ตำบลนาขา
อำเภอหลังสวน,ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลละอุ่นใต้ อำเภอละอุ่น จ.ระนอง
เนื้อที่ ตำบลละอุ่นเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๘.๓๕ ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลละอุ่นเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อนที่มีที่ราบเชิงเชิงสลับกันเพียงเล็กน้อย ไม่มีที่ราบติดต่อกันเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มี
คลองละอุ่นผ่านกลางพื้นที่ตำบล
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลละอุ่นเหนือตั้งอยู่ในเขตโซนร้อนชื้น อุณหภูมิอบอุ่น ได้รับอิทธิพลขากลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ มีฝนตกชุกมาก แยกเป็นฤดูกาล คือ ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม – เดือนเมษายน อุณหภูมิประมาณ ๒๘ –๓๙ องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะมีฝน
ตกชุกระหว่างเดือนสิงหาคม – เดือนกันยายน
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่คือ การทำสวนยางพารา สวนกาแฟ สวนปาล์มน้ำมัน เป็นต้น และนอกจากนี้ประชากรในตำบล
ก็จะมีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากผลผลิตทางการเกษตร เช่นรายได้จากการจำหน่ายยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน
หมาก ผัก ผลไม้ และสัตว์เป็นต้น ส่วนรายได้อีส่วนหนึ่งก็จะมาจากการรับจ้างทั่วไป
การปกครอง
ตำบลละอุ่นเหนือแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๕ หมู่บ้าน ซึ่งมีการปกครองส่วนท้องถิ่นคือ
หมู่ที่ ๑ บ้านนายาว
หมู่ที่ ๒ บ้านบางญวน
หมู่ที่ ๓ บ้านบางสังโต้ง
หมู่ที่ ๔ บ้านวังลุ่ม
หมู่ที่ ๕ บ้านปากแพรก
ประชากร
ตำบลละอุ่นเหนือมีครัวเรือน ๓๓๕ ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด ๑,๐๖๓ คน เป็นหญิง ๕๐๗ คน
ชาย ๕๕๖ คน โดยแยกตามหมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ประชากร |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||
๑ |
บ้านนายาว |
๖๒ |
๗๑ |
๑๓๓ |
๒ |
บ้านบางญวน |
๑๓๗ |
๑๒๐ |
๒๕๗ |
๓ |
บ้านบางสังโต้ง |
๙๘ |
๙๓ |
๑๙๑ |
๔ |
บ้านวังลุ่ม |
๕๖ |
๕๔ |
๑๑๐ |
๕ |
บ้านปากแพรก |
๒๐๖ |
๑๖๙ |
๓๗๒ |
รวม |
๕๕๖ |
๕๐๗ |
๑,๐๖๓ |
สถานบริการในตำบลละอุ่นเหนือ
สถานีอนามัย ๑ แห่ง
วัด ๑ แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ ๖ แห่ง
หอกระจายข่าว ๔ แห่ง
ศาลาอเนกประสงค์ ๕ แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา ๑ แห่ง
ที่ทำการ อบต. ๑ แห่ง
แหล่งน้ำที่มีในตำบลละอุ่นเหนือ
- แหล่งน้ำจากธรรมชาติ
ลำคลองละอุ่น ๑ สาย
ลำห้วย ๒๔ สาย
- แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝาย ๖ ฝาย
บ่อน้ำตื้น ๒๑ บ่อ
บ่อบาดาล ๓ บ่อ
ถังน้ำ ๕ ถัง
แหล่งพักผ่อน/แหล่งท่องเที่ยว
ในตำบลละอุ่นเหนือมีสถานที่พักผ่อนและที่ท่องเที่ยวอยู่หลายที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นความเป็นธรรมชาติ แต่ยังต้องมีการพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่
ความสมบูรณ์มากกว่านี้ ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนในตำบลละอุ่นเหนือ ได้แก่ จุดชมปลาวังตาแก้ว ซึ่งวังตาแก้วนี้อยู่ที่หมู่ที่ ๕ บ้านปาก
แพรก สวนสาธารณะเทิดพระเกียรติ ๗๒ พรรษา ซึ่งวังตาแก้วนี้อยู่ที่หมู่ที่ ๕ บ้านปากแพรกเช่นกัน จุดชมปลาวังเหรียง อยู่ ณ สะพานเชื่อมต่อ
ระหว่างหมู่ที่ ๒ บ้านบางญวน กับหมู่ที่ ๑ บ้านนายาว จุดชมปลาที่บ้านบางสังโต้ง หมู่ที่ ๓ จุดชมปลาที่บ้านวังลุ่ม หมู่ที่ ๔ และชมกัลปพฤกษ์ ซึ่งดอก
ของกัลปพฤกษ์จะมีสีชมพู/ม่วง/ขาว มีลักษณะคล้ายกับดอกซากุระของประเทศญี่ปุ่น โดยต้นกัลปพฤกษ์จะออกดอกในช่วงฤดูร้อน และในตำบลยังมี
ธรรมชาติและวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาก
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
การเรียนรู้ในชุมชน ยังขาดการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ แต่ในชุมชนตำบลละอุ่นเหนือนั้นมีแหล่งที่สามารถ
หาความรู้มากมาย ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้
๑.โรงเรียนประถมศึกษา
๒.สถานีอนามัย
๓.วัดปทุมสาคร
๔.ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน
๕.ชมรมผู้สูงอายุตำบลละอุ่นเหนือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อ |
อาชีพ |
ความสามารถ |
นางสมร สังโสม |
เกษตร |
ทำอาหาร/ขนมไทย |
นายมนตรี สังข์ดี |
เกษตร |
วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง |
นายสุคนธ์ แซ่อุ๋ย |
เกษตร |
วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง |
นายวิสุทธิ์ แข็งแรง |
เกษตร |
พิธีกรรม |
นายสวัสดิ์ แก้วเดชะ |
เกษตร |
การแสดง |
นายสนิท แสงอินทร์ |
เกษตร |
แพทย์แผนไทย |
ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
ด้านการรู้หนังสือ ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ ปวช.) ด้านอาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการพัฒนาสังคมและ
ชุมชน ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย