Login Form
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปตำบลน้ำจืด
ข้อมูลพื้นฐานตำบลน้ำจืดเขตเทศบาล
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลตำบลน้ำจืด เลขที่ 15/3 หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง มีเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4.2
กิโลเมตร ได้แก่ หมู่ที่ 2 (บางส่วน) หมู่ที่ 3 (ทั้งหมด) หมู่ที่ 4 (บางส่วน) มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดระนอง 60 กิโลเมตร โดยมี
อาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ คลองน้ำจืดน้อย ตำบลน้ำจืดน้อย อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตบ้านปลายคลอง ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำกระบุรี กั้นชายแดนไทย - พม่า
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ติดกับบ้านดอนกลาง อบต.น้ำจืด
แบ่งเขตการปกครอง เป็นชุมชนย่อย 6 ชุมชน
1. ชุมชนหน้าตลาด หมู่ที่ 2
2. ชุมชนดอนสมอ หมู่ที่ 2
3. ชุมชนหัวถนน หมู่ที่ 3
4. ชุมชนหลุมถ่าน หมู่ที่ 3
5. ชุมชนพรุใหญ่ หมู่ที่ 4
6. ชุมชนดอนหว้า-ดอนตำเสา หมู่ที่ 4
ด้านประชากร
จำนวนประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ประชากรทั้งสิ้น 3,870 คน
แยกเป็นชาย 1,904 คน แยกเป็นหญิง 1,966 คน จำนวนครัวเรือน 1,440 ครัวเรือน
ด้านการประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ 1. การทำธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย 2.ข้าราชการ 3.เกษตรกร 4.ทำประมง 5.แรงงานทั่วไป
ข้อมูลพื้นฐานตำบลน้ำจืด(เขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืด)
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลน้ำจืดเป็นตำบลที่เก่าแก่ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษษยน 2440 จนถึงปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาถิ่น
นับถือศาสนาพุทธ มีพื้นที่ทั้งหมด 85.48 ตารางกิโลเมตร ห่างจากจังหวัดระนอง 57 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลน้ำจืดน้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลลำเลียง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลเขาทะลุ จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์
การแบ่งเขตการปกครอง ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลอง
หมู่ที่ 2 บ้านน้ำจืด (เขตเทศบาลบางส่วน)
หมู่ที่ 3 บ้านหัวถนน (เขตเทศบาล)
หมู่ที่ 4 บ้านดอนตำเสา (เขตเทศบาลบางส่วน)
หมู่ที่ 5 บ้านดอนกลาง
หมู่ที่ 6 บ้านบางกุ้ง
หมู่ที่ 7 บ้านบางหมีเหนือ
หมู่ที่ 8 บ้านบกกราย
หมู่ที่ 9 บ้านหินใหญ่
ประชากร
ประชากรทั้งหมด 3,999 คน แยกเป็นชาย 2,078 คน แยกเป็นหญิง 1,921 คน รวมทั้งสิ้น 1,861 ครัวเรือน
ที่มา สำนักทะเบียนอำเภอกระบุรี เดือน เมษายน 2556
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ภูเขา ร้อยละ 70
พื้นที่ราบ ร้อยละ 25
พื้นที่น้ำ ร้อยละ 5
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อุณหภูมิ 35 c
ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน อุณหภูมิ 25 c
ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนธันวาคม - มกราคม อุณหภูมิ 23 c
สภาพทางเศรษฐกิจ
ด้านการประกอบอาชีพ
ทำนา-ทำไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.3
ทำสวน คิดเป็นร้อยละ 40.5
ประมง คิดเป็นร้อยละ 0.2
รับราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.1
พนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 0.4
รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 16.9
ประวัติความเป็นมา กศน.ตำบลน้ำจืด
กศน.ตำบลน้ำจืด หมู่ที่ 5 บ้านดอนกลาง ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เป็นอาคารปูนชั้นเดียว อดีตคือสถานที่
ประชุมสภาของหมู่บ้าน ตำบลน้ำจืด อยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจืด เมือวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 มีนายอุเทรณ์ น้อย
แผลง ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลน้ำจืด จากการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้มีการปรับเปลี่ยน ศููนย์
การเรียนชุมชน เป็น กศน.ตำบลขึ้น เพื่อรองรับการบริการกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ และมีพิธีเปิด กศน.ตำบล อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19
กุมภาพันธ์ 2553 ปัจจุุบัน มีนายอุเทรณ์ น้อยแผลง เป็นครู กศน.ตำบล และมี นางสาวฐิตกัญญา วงศ์ชนะ เป็นครูศูนย์การเรียนชุมชน
อาคารสถานที่ กศน.ตำบลน้ำจืด หมู่ที่ 5 บ้านดอนกลาง ตำบลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
สภาพภายในอาคารที่ใช้จัดการเรียนการสอน นักศึกษา กศน.ตำบลน้ำจืด การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สภาพห้องเรียนแบบ กศน.จัดกิจกรรมขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่อง
ภาพบรรยากาศ การจัดการเรียนการสอน นักศึกษา กศน.ตำบลน้ำจืด
มุม ICT กศน.ตำบลน้ำจืด เปิดโลก กศน.สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อยกคุณภาพการศึกษายุคใหม่ สู่ประชาคมอาเซียน
มุมเทิดพระเกียรติ "ตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง"
ผู้บริหาร
นางนิภา พุ่มกะเนาว์
ผอ.กศน.อำเภอกระบุรี
ครู กศน.ตำบล
นางสาวพนารัตน์ ศักดิ์สมพงศ์
ครู กศน.ตำบลน้ำจืด
ครูศูนย์การเรียนชุมชน
นางสาวฐิตกัญญา วงศ์ชนะ
ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลน้ำจืด